วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

line



                เด็กหญิงชนนิกานต์ เอกมหาชัย ม.3/4 เลขที่ 24

flash cs5


เด็กหญิงชนนิกานต์ เอกมหาชัย ม.3/4 เลขที่ 24

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันคริสต์มาส


  คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ (Christmas) ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า "Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ (เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1038) และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ประวัติ ความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันประสูติของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในรัชกาลของจักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรีย ก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 – ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย



          ดังนั้นเป็นการฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า " คริสมาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า "Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038 และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ใน ภาษาไทย " คริสต์มาส " ก็มีความหมาย เช่นกัน คำว่า "มาส" แปลว่า "เดือน" เทศกาลคริสต์มาสจึง เป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพิเศษ คำว่า"มาส" คือ"ดวงจันทร์" ตีความหมายในภาษาไทยคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์ เป็นความสว่างในตอนกลางคืน Merry X’mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า"สันติสุขและความสงบทางใจ"

คำ นี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ ถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึก ถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศประเพณี นี้ ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษ ที่ 4 และ ค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

วันรัฐธรรมนูญ


วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนชาวไทย

ความเป็นมา

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

 ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

 ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

 ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

 ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

 จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

 วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

๑. พระมหากษัตริย์

 ๒. สภาผู้แทนราษฎร

 ๓. คณะกรรมการราษฎร

 ๔. ศาล

 ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันพ่อแห่งชาติ

พ่อบอกพ่อสอนเราหลายอย่าง เว้นอยู่อย่างเดียวที่พ่อไม่เคยบอก ก็คือ "ให้เราทุกคนรักพ่อ" แต่เราก็รู้สึกด้วยได้หัวใจเราเองจากสิ่งที่พ่อทำ


  เราเคยสงสัยหรือไม่ ทำไมเราเกิดมาต้องมีพ่อทั้งสองคน? ซึ่งเราทุกคนชาวไทยมีพ่อคนนี้เป็นพ่อเหมือนอย่างเรา พ่อในที่นี้ก็คือ พ่อหลวงของทุก ๆ คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเป็นมากกว่าพระมหากษัตริย์ เพราะทรงเป็นพ่อ และทรงเป็นมากยิ่งกว่าพ่อ และทรงให้มากกว่าชีวิต พ่อคนเป็นผู้คิด ผู้สร้าง หลักนำใจ เพื่อใช้ชีวิตให้เรารู้จักเพียงพอ ให้เรารู้จักถูกผิด 


  ในหลวงของเราทรงงานหนักมาโดยตลอด สิ่งที่พ่อทำก็เพื่อความสุขของประชาชนชาวไทย พ่อหลวงเข้าถึงประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงห่วงใยและให้ความช่วยเหลือประชาชนในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สอนให้เราบริหารจัดการ ให้อยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพของแต่ละคน เมื่อน้ำท่วมก็หยิบยื่นความช่วยเหลือมาโดยตลอด และเมื่อเกิดภัยแล้งพระองค์ก็ทรงมีโครงการฝนเทียม เพื่อแก้ไขภัยแล้งให้กับประชาชนชาวไทย เพื่อให้มีน้ำใช้ น้ำบริโภค น้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ทำให้ประชาชนมีอยู่มีกิน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สิ่งที่พ่อทำก็เพื่อความสุขสบายของลูก ๆ ของพระองค์ 


พ่อทรงเหนื่อยเรารับรู้ได้ แต่พระองค์ไม่เคยตรัสเลยสักคำว่า "เหนื่อย" จนบางครั้งเราก็อดคิดไม่ได้ว่า เราทำงานยังรู้สึกเหนื่อย แล้วพ่อหลวงล่ะทรงงานมากกว่าเราเป็นล้านเท่า พ่อจะเหนื่อยสักแค่ไหน พ่อเคยพักบ้างไหม เพราะที่เราเห็นกันทุกวัน พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย วันหนึ่ง ๆ ต้องเสด็จไปไม่รู้กี่ที่ สิ่งที่พ่อทำ พ่อให้เรา มันบรรยายไม่ถูก แต่เชื่อว่าลูก ๆ ทุกคนรับรู้มันด้วยใจ


จะมีลูกคนไหนในผืนแผ่นดินไทยนี้ที่จะไม่รักพ่อบ้าง? เพราะสิ่งที่เราเห็นมันก็ยืนยันได้ว่า พ่อรักลูกทุก ๆ คนอย่างหาที่สุดไม่ได้ สำหรับดิฉัน รักพ่อหลวง เพราะพ่อทรงสอนให้ดิฉันรักตัวเอง ตั้งแต่การใช้ชีวิตที่ถูกที่ชอบ พ่อมีธรรมะ การประกอบสัมมาอาชีวะ การรู้จักความพอเพียงและพอดี รักที่พระองค์ทรงสอนให้ดิฉันรักคนอื่น (พี่น้องร่วมแผ่นดิน) โดยปราศจากอคติ และไม่คำนึงถึงความแตกต่าง ไม่ว่าจะด้วยเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางสังคม แม้กระทั่งลัทธิทางการเมือง รักพ่อที่ทรงสอนให้ดิฉันรักธรรมชาติ รักป่าไม้ รักต้นน้ำลำธาร รักผืนดิน รักสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสัตว์ต่าง ๆ


ดิฉันรักพ่อหลวงก็เพราะพระองค์ทรงสอนให้ดิฉันรักและภูมิใจที่เกิดมาเป็นคน ไทย ในชาติไทยที่มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ พระบารมีที่เกิดจากน้ำพระราชหฤทัย น้ำพักน้ำแรง มันสมอง หยาดเหงื่อของพระองค์ ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ครองราชย์ พระเมตตาของพระองค์เปี่ยมล้นมากยิ่งนัก พ่อทำเพื่อลูกมากมายเพียงนี้ แล้วทำไมดิฉันถึงไม่รักพ่อหลวงล่ะคะ


ภูมิใจและดีใจที่เกิดมาเป็นลูกของพ่อหลวง สิ่งที่ลูกจะตอบแทนให้พ่อ มันคงเทียบเท่ากับสิ่งที่พ่อทำให้ลูกไม่ได้ แต่ลูกคนนี้ขอสัญญาว่าจะเป็น "คนดี" ให้พ่อภูมิใจ จะเดินตามเส้นทางของพ่อ และลูกจะขอเป็นข้าฯฝ่าพระบาทของพ่อทุกชาติไป วันนี้สิ่งที่ลูกอยากบอกพ่อก็คือ "ถึงพ่อจะไม่เคยบอกเคยสอนให้รักพ่อ แต่ลูกก็รักพ่อสุดขั้วหัวใจของลูกจริง ๆ พ่อ"

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกรพทง

เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี หรืออยู่ในราว
เดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของ
ประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการ
ลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระ
พุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศ
อินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทง
ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน เช่น เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือ บูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่
 กลางเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ
 ช่วงวันเพ็ญเดือน ๑๒ เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน
เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธี
จองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร
พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท
ณ หาดทรายแม่น้ำนัมฆทานที ประเทศอินเดีย

การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ
 ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา
พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่
และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
 "ครั้นมาถึงเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรงพระบรม
วงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง
 ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง ๘ ศอกบ้าง ๙ ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด ๑๐ ศอก ๑๑ ศอกทำประกวด
 ประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง ๔ บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้างวิจิตรไปด้วยเครื่องสด
 คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง ๒๐ ชั่งบ้าง
 ย่อมกว่า ๒๐ ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปี
ที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง
และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยัง
นิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้
โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้
ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้าพร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาว
สวยงามมากทีเดียว

ประวัติการลอยกระทงในประเทศไทย
การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของ
พระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคม
ในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำ
สายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

วันทอดกฐิน


กฐิน คือ กรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณหากเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว

ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือนหลังออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง และต้องทอดกฐินภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากทอดกฐินก่อนหรือหลังจากวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ มิเช่นนั้นจะไม่ถือเป็นการทอดกฐิน

ผู้ที่มีความประสงค์จะทอดกฐินจำเป็นต้องศึกษาหลักการปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยขั้นตอนหลักๆของการทอดกฐินมีดังนี้
จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้

เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าอาวาสวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในการทอดกฐิน

ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี ๓ ไตร คือ องค์ครอง ๑ ไตร คู่สวดองค์ละ ๑ ไตร)

วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น ๒ วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา               รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ แล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น

อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล

การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน ๓ จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร       ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐิน


กฐินถือเป็นกาลทานเพราะในหนึ่งปีสามารถทำได้เพียงครั้งเดียว จึงเป็นศาสนพิธีที่ชาวพุทธให้ความสนใจเป็นอย่างมาก